วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ความหมาย

ความหมายง่ายๆ ของคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง"

เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนะ
แนวทางการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติแก่ประชาชน โดยยึดหลัก “ทางสายกลาง”
ท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน


เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายสรุปได้ 5 ประการ ดังนี้

1. ความพอเพียง คือ รู้จักพอประมาณ พออยู่ พอมี พอกิน พอใช้ ประหยัด และไม่เบียดเบียนผู้อื่น
2. ความมีเหตุผล คือ ตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความพอเพียงต้องใช้เหตุผล และพิจารณาด้วยความรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดี คือ เตรียมใจให้พร้อมรับผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
4. การมีความรู้ คือ นำความรู้มาใช้ในการวางแผนและดำเนินชีวิต
5. การมีคุณธรรม คือ มีความซื่อสัตย์สุจริต สามัคคี และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


หลายคนเอาไปตีความหมายผิดคิดว่าความพอเพียง คือไม่ต้องรวย
แท้ที่จริงในความพอเพียง...เราก็สามารถร่ำรวยได้...คือร่ำรวยอยู่บนพื้นฐานอาชีพที่เป็นไปอย่างสุจริตของเราเอง...ทำงานด้วยความรอบคอบ ใช้ความรู้ที่มีให้เป็นประโยชน์ต่ออาชีพ รู้จักประหยัดอดออม...มองการณ์ไกลไปข้างหน้าด้วยความฉลาดรู้ที่สะสมมาจากประสบการณ์ในสาขาอาชีพของตัวเอง...แล้วคุณธรรมจากความพอเพียงที่มีอยู่ในจิตใจของเรายิ่งจะช่วยส่งเสริมให้เราก้าวหน้า และร่ำรวยจากอาชีพ และธุรกิจของเราได้ เพราะมันจะสร้างความน่าเชื่อถือไว้วางใจให้เราได้เป็นอย่างดี

การพอเพียงทำให้เราไม่ฟุ้งเฟ้อไปตามกระแสนิยมในโลกปัจจุบัน เทคโนโลยีต่างๆ ที่ต่างแข่งขันกันผลิตคิดค้นขึ้นมา...เราสามารถนำมันมาใช้ได้เพื่อประโยชน์ของงานเรา มันจะไม่มีสิทธิ์มาเป็นนายเหนือเรา...ความคิดความอ่านที่รอบคอบจะทำให้เรารู้เท่าทันกับสื่อโฆษณาต่างๆ ไม่ว่าจะมาในรูปแบบไหน...เราจะไม่ตามกระแสแบบโง่ๆ อีกต่อไป...


แล้วอย่างนี้ความพอเพียง...จะไม่ทำให้เราร่ำรวยได้อย่างไร..ใช่มะ

ธุรกิจมันแปรเปลี่ยน

เมื่อแนวโน้มธุรกิจกำลังแปรเปลี่ยนไป...
จากการที่จะต้องทำอะไรใหญ่ๆ...มีโรงงานใหญ่ๆ ใช้คนเยอะๆ...ใช้เงินทุนมากๆ


เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจภาคเอกชน หรือหน่วยงานรัฐ
ต่างก็พยายามลดภาระภายในหน่วยงานของตัวเองลง...โดยการจ้างงานจากที่อื่น

เช่น พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานทำความสะอาด
การจ้างเอาท์ซอร์ทภายนอกที่มีความชำนาญและมีเครื่องมือที่พร้อมกว่า

แล้วที่ทำอย่างนี้มันช่วยลดภาระหน่วยงานเหล่านั้นได้อย่างไร มาดูเหตุผลกัน...

1. สวัสดิการต่างๆ ที่ทางองค์กรบริษัท และหน่วยงานรัฐต้องจ่ายในแต่ละปีเป็นจำนวนมหาศาล
2. เครื่องไม้เครื่องมือไม่ต้องจัดซื้อจัดหาเข้ามาเพิ่ม
3. ไม่ต้องกลัวการประท้วงหยุดงาน เพราะถ้าบริษัทนี้ไม่ทำให้ ก็ไปจ้างบริษัทอื่นได้
4. ผลงานที่ได้ออกมาดีกว่า เพราะถ้าผลงานไม่ออกมาตามตกลง มีสิทธิ์ที่จะไม่รับจนกว่าจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง และสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทรับจ้างได้ในกรณีที่งานล่าช้า หรือไม่ได้ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา
5. ฯลฯ

เมื่อเห็นประโยชน์มากอย่างนี้แล้ว...มีเหตุผลอะไรที่บริษัทและหน่วยงานรัฐจะไม่จ้างเอาท์ซอร์ทจากภายนอก

ดังนั้นคนตัวเล็กๆ อย่างเรา ก็สามารถที่จะสร้างงานได้จากโอกาสธุรกิจตรงนี้ ลองไปศึกษาตัวเองให้ชัดเจนก่อนว่ามีความสามารถที่จะมารองรับโอกาสตรงนี้ได้ไหม อย่างไร แล้วไปลุยกันต่อ
 

Reader

Followers