วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการส่งออก ตอนที่ 4

นอกจากนี้ อาจต้องขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (C/O หรือ Certificate of Origin) ตามข้อกำหนดของประเทศผู้ซื้อ

หนังสือรับรองนี้ มี 2 แบบ
แบบที่ 1 เป็นหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดทั่วไปที่ออกให้กับประเทศผู้ซื้อ เพื่อยืนยันว่าสินค้านั้นผลิตขึ้นในประเทศที่ส่งออกจริง ผู้ออกให้มี
  • กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
  • สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

แบบที่ 2 เป็นหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่ออกให้กับประเทศผู้ซื้อตามข้อตกลงว่าด้วยการใช้สิทธิพิเศษต่างๆ
  • สิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร GSP เรียกว่า หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า Form A
  • สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ AFTA/CEPT เรียกว่า หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า FORM D
  • สิทธิประโยชน์ทางการค้า GSTP เรียกว่า หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า FORM GSTP
แบบที่ 2 นี้ จะออกโดย กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เท่านั้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า
กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
โทร. 0-2547-4815, 18 และ 19
E-mail : tpdft@mocnet.moc.go.th


เอกสารประกอบอื่นๆ ตามความต้องการของผู้ซื้อ เช่น เอกสารประกันภัย และเอกสารรับรองต่างๆ ซึ่งผู้ส่งออกส่วนใหญ่ มักใช้บริการว่าจ้างผู้แทนออกของ (Shipping) ให้ดำเนินการ ดังนั้น จึงควรแจ้งให้เขาทราบว่าต้องการเอกสารประกอบชนิดใด เพื่อเขาจะได้ปฏิบัติตามความต้องการได้อย่างถูกต้อง

ทั้งนี้ สามารถจะหาข้อมูลได้จาก L/C ที่ได้รับมา ถ้ามีเงื่อนไข อย่าละเลย ที่จะระบุเงื่อนไขลงไปในเอกสารนั้นๆ ให้ครบ

เอกสารใดที่ผู้ซื้อระบุมา แต่ไม่สามารถหาหน่วยงานใดออกให้ได้ ก็ให้ทำการตกลงกับผู้ซื้อเสียแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะปฏิบัติการส่งมอบสินค้า

บัตรลายมือชื่อ บัตรลายมือชื่อมีไว้เพื่อประกอบการติดต่อกับกรมศุลกากรว่าด้วยการนำเข้าและส่งออกทุกเรื่อง เป็นบัตรลายมือชื่อเจ้าของ หรือผู้จัดการและผู้รับมอบอำนาจเพื่อประกอบการยื่นเอกสารในการผ่านพิธีการของกรมศุลกากร โดยยื่นคำร้องต่อฝ่ายทะเบียนผู้ส่งออกและนำเข้า สำนักเลขานุการ กรมศุลกากร หรือที่ด่านศุลกากรทั่วราชอาณาจักร

เมื่อเตรียมเอกสารประกอบการส่งออกครบแล้ว และถึงเวลาตามที่ได้สัญญากับผู้ซื้อไว้แล้ว สินค้าพร้อมแล้ว ก็ทำการผ่านพิธีศุลกากร เพื่อทำการตรวจสอบสินค้าว่าตรงกับใบกำกับสินค้า ใบรายการบรรจุหีบห่อ แหล่งกำเนิดสินค้า การชำระภาษีอากร การออกใบขนสินค้า การควบคุม การบรรจุสินค้าเข้าตู้ ขึ้นเรือ หรือขึ้นพาหนะที่ใช้ขนสินค้าส่งออก

จากนั้น นำสินค้าที่จะส่งออกส่งมอบแก่ผู้ทำการขนส่ง ซึ่งได้จองระวางไว้ล่วงหน้าแล้ว และรับใบตราส่งเมื่อส่งมอบสินค้าเรียบร้อย ใบตราส่งมี 5 ประเภทด้วยกันซึ่งขึ้นอยู่กับพาหนะที่ท่านใช้ขนส่ง เช่น
  • ใบตราส่งทางเรือ Bill of Lading (B/L)
  • ใบตราส่งทางอากาศ Airways Bill (AWB.)
  • ใบตราส่งทางรถไฟ Railways Receipt
  • ใบตราส่งทางรถบรรทุก Truck’s Receipt
  • ใบตราส่งทางไปรษณีย์ Parcel’s Receipt
ผู้ส่งออกจะต้องตรวจสอบใบตราส่งให้ละเอียดตามเงื่อนไข อย่าให้ผิดพลาดจากข้อกำหนด ก่อนนำไปยื่นขอขึ้นรับเงินกับธนาคาร เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจปล่อยสินค้าแล้วก็ถึงขั้นตอนสำคัญ คือ การเรียกเก็บและชำระเงินค่าสินค้า
เอกสารที่ต้องส่งเรียกเก็บเงินจากผู้ซื้อนั้นกำหนดได้จากเอกสารที่สั่งซื้อเป็นสำคัญ

เอกสารที่จำเป็น คือ
ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) เป็นตราสารที่ผู้รับประโยชน์ตาม L/C หรือผู้ขายสินค้า เป็นผู้ออกตั๋วเงินเพื่อสั่งให้ผู้ซื้อสินค้าจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินภายในเวลา ที่ตกลงไว้ในสัญญา

ข้อควรระวังในการส่งเอกสารให้แก่ผู้ซื้อเพื่อเป็นหลักฐานในการเตรียมตัวออกของ หรือติดตามสินค้า ต้องเป็นเอกสารที่ประทับตรา Copy Not Negotiate เพื่อ ผู้ซื้อจะได้นำไปออกของไม่ได้จนกว่าการชำระเงินตามตั๋วแลกเงินจะสมบูรณ์ ธนาคาร ผู้เป็นตัวแทนจึงจะออกเอกสารในการออกของให้แก่ผู้ซื้อ นำไปออกของเพื่อจำหน่ายต่อไปได้

และเพื่อเป็นการส่งเสริมการส่งออกอีกทางหนึ่ง กรมศุลกากรได้จัดให้มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการส่งออก โดยดำเนินการมาตรการหลักๆ ดังนี้
1. การคืนอากรวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออกตามมาตรา 19 ทวิ
2. การงดเว้นการเก็บอากรสำหรับของที่นำเข้าในคลังสินค้าทัณฑ์บน
3. การชดเชยค่าภาษีอากร
4. การยกเว้น ภาษีนำเข้าสำหรับเขตอุตสาหกรรมส่งออก


ซึ่งท่านสามารถติดต่อขอรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว ได้ที่
กรมศุลกากร
ถนนสุนทรโกษา คลองเตย
กรุงเทพฯ 10110
โทร. 0-2249-0431 ถึง 40
และสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
Web Site : www.customs.go.th


จะเห็นได้ว่าธุรกิจการส่งออกสินค้าสู่ผู้ค้าในต่างประเทศนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก จนเกินความสามารถ เพียงแต่ให้ความสนใจในขั้นตอนการปฏิบัติที่สำคัญต่างๆ อย่างจริงจัง มีหูตากว้างไกล มีความจริงใจกับคู่ค้า ธุรกิจการส่งออกก็จะเป็นทางเลือกที่ดีแก่การทำธุรกิจได้ แต่ในการทำธุรกิจต่างๆ ก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้นได้ ฉะนั้น เมื่อท่านมีปัญหา หรือขัดข้องสิ่งใดในการประกอบธุรกิจส่งออกท่านสามารถขอรับคำปรึกษาจาก กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์
กรมส่งเสริมการส่งออก
22/77 ถนนรัชดาภิเษก จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 0-2511-5066-77 ต่อ 286-288
สายด่วนผู้ส่งออก โทร. 1169
0-2512-5151
0-2511-5502
Web Site: www.depthai.go.th
www.thaitrade.com


ที่มา : จากกรมส่งเสริมการส่งออก

ขั้นตอนการส่งออก ตอนที่ 3

การส่งออกสินค้าเหล่านี้ จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสียก่อน จึงจะทำการส่งออกได้

จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก ได้แก่ กาแฟ ข้าว ทุเรียน ปลาทูนาบรรจุภาชนะอัดลม กุ้ง ปลาหมึกแช่เย็นแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์ ลำไยสด สิ่งทอ ดอกกล้วยไม้ ผลิตภัณฑ์-มันสำปะหลัง

ขอใบอนุญาตส่งออก ได้แก่ กากถั่วเหลือง (ในหลักการไม่อนุญาตให้ส่งออก) กาแฟ กุ้งกุลาดำ ข้าว ช้าง ซากเต่าบางชนิด ซากสัตว์บางชนิด สินค้า RE-EXPORT ถ่านไม้ ถ่านหิน ทองคำ น้ำมันเชื้อเพลิง ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์หอยมุก พระพุทธรูป ไม้และไม้แปรรูป (เฉพาะไม้ยางพารา ไม้สน และไม้ยูคาลิปตัส) แร่ที่มีทราย สัตว์ป่าบางชนิด หอยมุก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง

ขอรับการจัดสรรปริมาณ (โควตา) การส่งออก ได้แก่ ข้าว สิ่งทอ

ห้ามส่งออก/ในหลักการไม่อนุญาตให้ส่งออก ได้แก่ กระแต กากถั่ว เต่าจักร ทราย ปลาทะเลสวยงาม ปะการัง ม้า ลา ล่อ เมล็ดปอ สัตว์น้ำ 258 ชนิด สินค้าปลอม สินค้าลิขสิทธิ์ หวาย การส่งออกไปยัง 3 ประเทศที่กล่าวข้างต้น

ผู้ประกอบการสามารถสอบถาม/ค้นหารายละเอียดได้จาก
กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
โทร. 0-2547-4771 ถึง 86
Web Site : www.dft.moc.go.th/export_index.html
Web Site ของกรมส่งเสริมการส่งออก : www.depthai.go.th/export/index.html


1. สินค้าเสรี (ทั่วไป) ไม่มีกฎเกณฑ์ใดเป็นข้อห้าม จึงส่งออกได้ตามปกติ สินค้ากลุ่มนี้มีมากมาย ผู้ส่งออกสามารถเลือกทำการค้าได้โดยเสรี

เมื่อทราบประเภทของกลุ่มสินค้า และรู้แล้วว่าเป็นสินค้าประเภทใด ก็มาถึงขั้นต่อไปในการขายสินค้าส่งออก คือ การหาลูกค้าซึ่งก็มีหลายวิธี เช่น ลงโฆษณาในสื่อต่างๆ ในประเทศของผู้ซื้อ หรือสื่อทางการค้าของหน่วยงานด้านการค้าของไทย ได้แก่ Export Directory ซึ่งจะจัดพิมพ์รายชื่อผู้ผลิต-ส่งออกสินค้าแยกเป็นชนิดสินค้าการส่ง Direct Mail ไปยังผู้นำเข้าในประเทศเป้าหมาย การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ เป็นต้น

เมื่อผู้ซื้อในต่างประเทศได้รู้จักสินค้าและให้ความสนใจก็จะมีการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ในเรื่องราคา ปริมาณ หรือเงื่อนไขอื่นๆ

ผู้ขายสินค้าก็จะต้องยื่นข้อเสนอราคาที่เหมาะสมและกำหนดเวลาในการจัดส่ง หรือรายละเอียดอื่นตามที่ผู้ซื้อต้องการทราบ หากผู้ซื้อพอใจในสินค้าและราคาแล้ว จึงจะเกิดการสั่งซื้อ ด้วยการออกคำสั่งซื้อสินค้า (Purchase Order) มายังผู้ขาย เพื่อให้ผู้ขายออกเอกสาร Pro-forma Invoice

เมื่อผู้ขายจัดส่ง Pro-forma Invoice ไปให้แล้ว ผู้ซื้อก็จะนำไปใช้เป็นหลักฐานในการเปิด Letter of Credit (L/C) ต่อธนาคารของผู้ซื้อ และเมื่อธนาคารของผู้ซื้อรับการสั่งซื้อแล้วก็ทำการจัดส่ง Letter of Credit (L/C) มายังธนาคารในประเทศของผู้ขาย

หลังจากนั้นธนาคารในประเทศผู้ขายก็จะแจ้งมายังผู้ขายว่าลูกค้าในต่างประเทศได้เปิด L/C มาแล้ว โดยให้ผู้ขายติดต่อกลับ เพื่อนำหลักฐานตามที่ตกลงใน L/C ไปเตรียมการจัดส่งสินค้าตามข้อตกลงที่ผู้ซื้อกำหนดมาใน L/C หากมีข้อความใน L/C ไม่ชัดเจน ควรปรึกษากับธนาคารผู้รับใบสั่งซื้อ L/C ให้ชัดเจนเสียก่อนที่จะนำไปดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

ในกรณีที่ผู้ขายเป็นผู้ผลิตสินค้าเอง ต้องเตรียมการผลิตสินค้าให้พร้อมเสร็จสิ้นก่อนกำหนดส่งสินค้า หากผู้ขายไม่ได้ผลิตเอง ก็จะต้องทำสัญญากับผู้ผลิตให้กำหนดการส่งมอบสินค้า ตามเวลาที่กำหนดก่อนการจัดส่งให้ผู้ซื้อ จากนั้นทำการทดสอบคุณภาพสินค้าให้เป็นไปตามข้อตกลงที่ได้ให้กับผู้ซื้อไว้

และตรวจสอบกำหนดการในการขนส่งสินค้าว่า ตารางการเดินเรือ หรือเที่ยวบินในช่วงที่ต้องการส่งสินค้ามีตามต้องการหรือไม่ ควรจองระวางบรรทุกสินค้าไว้ล่วงหน้า เพื่อความสะดวกแก่ผู้ทำการขนส่ง ซึ่งจะได้จัดเตรียมระวางบรรทุกในเที่ยว ที่ต้องการได้ถูกต้องครบถ้วน

ต่อมาก็จัดทำใบกำกับสินค้า หรือ บัญชีราคาสินค้า (Invoice) เพราะต้องนำไปใช้ทั้งก่อนการส่งออก และหลังการส่งออก เช่น ขออนุญาตสินค้าที่ควบคุมต้องปฏิบัติล่วงหน้าเพื่อความถูกต้อง การจัดทำใบรายการบรรจุหีบห่อ (Packing List) จะต้องจัดทำเมื่อทราบขนาดของหีบห่อที่ใช้บรรจุสินค้า หรืออาจจัดทำก่อนยื่นเอกสารผ่านพิธีการศุลกากร การขออนุญาตสินค้าควบคุม สินค้ามาตรฐานและการรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ซึ่งได้กล่าวแล้วข้างต้น

ขั้นตอนการส่งออก ตอนที่ 2

เมื่อจดทะเบียนธุรกิจแล้ว ก็ต้องติดต่อกรมสรรพากรเพื่อขอมีเลข และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หากมีรายรับจากการขายสินค้า หรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีผู้ประกอบการบางประเภท ที่ไม่ต้องจดทะเบียน หรือได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่ามูลค่าเพิ่ม เช่น การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่ก็สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เป็นต้น

การดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถติดต่อขอรายละเอียดและจดทะเบียนได้ที่

กรุงเทพฯ - สำนักงานสรรพากรเขต สำนักงานสรรพากรเขต (สาขา) หรือ สำนักงานสรรพากรที่สถานประกอบการตั้งอยู่ สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

ต่างจังหวัด - สำนักงานสรรพากรอำเภอ สำนักงานสรรพากรอำเภอ (สาขา)
หรือ สำนักงานสรรพากรกิ่งอำเภอที่สถานประกอบการตั้งอยู่

อันดับแรกของการประกอบธุรกิจส่งออก ผู้ประกอบการต้องเข้าใจถึงลักษณะการส่งออกของประเทศไทยก่อน ซึ่งประเทศเราเป็นประเทศกำลังพัฒนาและมีเสรีทางการค้า ฉะนั้น ในสินค้าบางตัวก็เป็นสินค้าที่มีความสำคัญและอาจส่งผลด้านเศรษฐกิจแก่ประชาชน ดังนั้น ผู้ที่จะประกอบธุรกิจส่งออก จึงจำเป็นต้องศึกษากฎเกณฑ์ และระเบียบอันเกี่ยวข้องกับการส่งออก โดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับศุลกากร กฎหมายพิกัดอัตราอากรขาเข้าขาออกของสินค้าที่ได้รับการยกเว้นอากร กฎหมายควบคุมสินค้าขาออก ทั้งนี้ เพื่อให้มีความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงกัน

ดังนั้น รัฐบาลจึงได้กำหนดการส่งออกสินค้าตามกลุ่มของสินค้าเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. สินค้ามาตรฐาน
2. สินค้าควบคุม หรือสินค้าที่มีมาตรการจัดระเบียบการส่งออก
3. สินค้าเสรี (ทั่วไป)

1. สินค้ามาตรการ ที่กำหนดมี 12 ชนิด ได้แก่
ปอฟอก ข้าวโพด เมล็ดละหุ่ง ปุยนุ่น ไม้สักแปรรูป ข้าวฟ่าง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ถั่วเขียว ปลาป่น ถั่วเขียวผิวดำ แป้งมันสำปะหลัง ข้าวหอมมะลิไทย

การส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้ ผู้ส่งออกจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ทำการค้าขาออก ซึ่งสินค้ามาตรฐานและต้องได้รับใบรับรองมาตรฐานสินค้าจาก
  • สำนักงานมาตรฐานสินค้า
  • สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
เพื่อนำไปแสดงต่อกรมศุลกากร จึงจะได้รับการตรวจปล่อยสินค้าออกไปได้ ในเรื่องนี้สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
  • กองตรวจสอบและมาตรฐานสินค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 02-5474746
2. สินค้าควบคุม เป็นสินค้าที่มีมาตรการจัดระเบียบการส่งออก เป็นสินค้า ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ความสงบและความเรียบร้อยภายในประเทศ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ สินค้าประเภทนี้ ได้แก่

สินค้าเกษครกรรม

  • ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง ข้าวสาร ข้าวเหนียว
  • ข้าวภายใต้โควต้าภาษีของสหภาพยุโรป
  • เมล็ดปอ
  • ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
  • สินค้ากาแฟ
  • ผลิตภัณฑ์กาแฟ
  • กากถั่ว
  • ไม้และไม้แปรรูป
  • ไม้ยางพารา
  • หวาย
  • ถ่านไม้
  • ช้าง ม้า ลา ล่อ
  • โค กระบือ
  • กระแต

สัตว์ป่า (177 ชนิด)
สัตว์ป่า (นก) 20 ชนิด
สัตว์ป่า (29 ชนิด)
สัตว์ป่า (22 ชนิด)
สัตว์ป่า (29 ชนิด)
ซากสัตว์ป่า (38 ชนิด)
ซากสัตว์ป่า (29 ชนิด)
ซากสัตว์ป่า (29 ชนิด)
ซากสัตว์ป่า (195 ชนิด)
ซากเต่า
ปะการัง
เต่าจักร
กุ้งกุลาดำมีชีวิต
ปลาทะเลสวยงามที่มีชีวิต
สัตว์น้ำใกล้สูญพันธ์
หอยมุกและผลิตภัณฑ์

สินค้าอุตสาหกรรม

  • น้ำตาล
  • ถ่านหิน
  • ปุ๋ย
  • ทองคำ
  • เทวรูป
  • พระพุทธรูป
  • น้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ของน้ำมันเชื้อเพลิง
  • แร่ที่มีทรายเป็นส่วนประกอบ
และ สินค้ารี-เอ็กซ์ปอร์ต

ขั้นตอนการส่งออก

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจส่งออก : ขั้นตอนการส่งออก

ธุรกิจการส่งออก นับว่าเป็นธุรกิจอีกแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการเองและประเทศชาติ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาสู่ประเทศไทยเราเป็นจำนวนมากในปีหนึ่งๆ และรายได้เหล่านี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกนำมาใช้พัฒนาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น

ดังนั้น เพื่อให้ธุรกิจการส่งสินค้าออกของไทยประสบความสำเร็จ และมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาในธุรกิจนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติต่างๆ ในการส่งออกสินค้าให้ดีเสียก่อน
เนื่องจากขั้นตอนการส่งออกสินค้า เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจส่งออก จะต้องทำความเข้าใจและศึกษาข้อปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อให้การประกอบธุรกิจส่งออก เป็นไปอย่างสะดวกและได้รับผลสำเร็จคุ้มค่ากับความตั้งใจการลงทุน

ขั้นตอนการส่งออกประกอบด้วย

1. การจดทะเบียนพาณิชย์
2. การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
3. เสนอขายและรับการสั่งซื้อ
4. การเตรียมสินค้า
5. ติดต่อขนส่ง
6. จัดเตรียมเอกสารเพื่อการส่งออก
7. ติดต่อผ่านพิธีการศุลกากร
  • พิธีการตรวจเอกสาร
  • พิธีการตรวจสินค้า
8. การส่งมอบสินค้า
9. การเรียกเก็บเงินค่าสินค้า
10.ขอรับสิทธิประโยชน์

เมื่อท่านตั้งใจจะดำเนินธุรกิจการค้าแล้ว ไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศหรือส่งออกสู่ต่างประเทศ จะต้องสร้างความมั่นใจแก่คู่ค้าของท่าน โดยแสดงวัตถุประสงค์ชัดเจนว่าท่านจะทำการค้าสินค้าลักษณะใด โดยทำการจดทะเบียนธุรกิจ ซึ่งมีการจดได้หลายลักษณะ ได้แก่

1.กิจการร้านค้าเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ

2.นิติบุคคล แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
2.1 บริษัทจำกัด
2.2 ห้างหุ้นส่วน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

สถานที่จดทะเบียน คือ

1. กรุงเทพมหานคร
1.1 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 (มหาราช)
โทร. 0-2622-0569 ถึง 70

1.2 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 2 (ถ.พระราม 6)
โทร. 0-2618-3340 ถึง 41 และ 45

1.3 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 3 (รัชดาภิเษก)
โทร. 0-2276-7266

1.4 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 4 (สีลม)
โทร. 0-2630-4696 ถึง 97

1.5 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 5 (รัชดาภิเษก)
โทร. 0-2276-7255-6

1.6 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 6 (ศรีนครินทร์)
โทร. 0-2722-8366, 68 และ 77

1.7 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 7 (รัชดาภิเษก)
โทร. 0-2276-7251 และ 53

1.8 ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง (อาคารกรมพัฒนาธุรกิจ จ.นนทบุรี)
โทร. 0-2547-4423 ถึง 24

2. ต่างจังหวัด ที่สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด 75 จังหวัด
นอกจากนี้ สามารถจดทะเบียนธุรกิจทาง Internet ได้ที่ www.thairegistration.com

บูชาองค์พระพิฆเนศ ด้วยขนมโมทะกะ และ ขนมลาดู

"ขนมโมทะกะ และ ขนมลาดู" คุณเคยได้ยินชื่อขนมชนิดนี้รึเปล่าคะ
เราก็เพิ่งจะเคยได้ยินนี่แหละค่ะ...ขนมทั้งสองชนิดนี้มีไว้สำหรับบูชาองค์พระพิฆเนศร์
พอดีวันนี้นั่งหาข้อมูลธุรกิจใหม่ๆ ที่น่าสนใจ...
ก็ได้มาพบกับเว็บไซต์ http://www.paraneeholysweet.com
ซึ่งเป็นเว็บของร้าน "ปารณีย์ โฮลี่สวีท" และได้ข้อมูลที่น่าสนใจมาก
มาติดตามอ่านกันเลยค่ะ...

ขนมโมทะกะ เป็นขนมทรงกลมยอดแหลม มีไส้ ทำจากข้าว และ มะพร้าว มีรสชาติหวาน

โดยทั่วไปแล้วขนมโมทะกะมี 2 ประเภท คือ ขนมโมทะกะคนยาก คือ ขนมที่ชาวบ้านผู้ยากจนแต่มีศรัทธาอย่างมาก ได้ทำถวาย โมทะกะคนยากนี้เรียกกันเล่นๆ เป็นที่รู้กันว่า "โมทะกะคนยาก" รสชาติจะออกรส ฝืดๆ ฝาดๆ เพราะเครื่องปรุงส่วนผสม เป็นไปตามฐานะของคนยากจนที่ทำถวาย

ส่วนอีกชนิดคือ โมทะกะเศรษฐี จะเป็นในทางตรงข้ามกันคือ ใส่ส่วนผสมอย่างดีที่สุด มากที่สุด เพื่อความปราณีตในการสักการะบูชา มีรสชาติหวาน หอม เพื่อให้ผลแห่งการสักการะบูชาเป็นไปโดยสมบูรณ์

บางท่านอาจจะได้เคยเห็นภาพขนมโมทะกะ ยอดแหลม มีสีขาวบริสุทธิ์ นั้นคือขนมโมทะกะ แบบเดียวกับเรานี้ แต่นำไปนึ่ง เรียกว่า "โมทะกะนึ่ง" หลังจากนึ่งออกจากเตาแล้ว ก็จัดใส่ภาชนะถวายบูชาในทันที


ขนมลาดู หรือ ออกเสียงได้ว่า ลัดดู , ลาดูฟ
เป็นขนมทรงกลม ทำจากแป้งถั่วชนิดพิเศษ

ในพระหัตถ์ขององค์พระพิฆเณศมหาเทพ จะทรงถือถ้วยขนมอยู่ตลอดเวลา ขนมนั้นคือ ขนมลาดู (ถ้ามียอดแหลม คือขนมโมทะกะ) เป็นขนมที่องค์พระพิฆเณศโปรดปรานที่สุด เหนือกว่าของบูชาใดๆ องค์พระพิฆเณศเองยังได้ประกาศพรไว้ด้วยว่า ถ้าผู้ใดถวายบูชาสักการะพระองค์ด้วยขนมลาดู และ ขนมโมทะกะ ความปราถนาใดๆ ของผู้นั้น พระองค์จะบันดาลความสำเร็จให้ผู้นั้น


ตำนานอัศจรรย์จากการถวายขนมโมทะกะ

ในสมัยอินเดียโบราณมีพี่น้องสองคน คนน้องเป็นผู้มีฐานะจน คนพี่ได้สามีเป็นชายผู้มีฐานะร่ำรวย อยู่กินแบบสุขสบาย คนน้องทำงานใช้แรงกายแรงงานเข้าแลกทรัพย์ ไปวันๆ ส่วนคนพี่ ก็ทำงานช่วยสามีตน แต่ก็ไม่ได้ยากลำบากเหมือนคนน้องเลย

คนน้องนั้นมีความเคารพศรัทธาในองค์พระพิฆเณศมหาเทพมาก เป็นศรัทธาที่มาจากใจจริงๆ ไม่ใช่ศรัทธาแบบผู้ขออ้อนวอน หรือ ศรัทธาแบบผู้แลกเปลี่ยนที่ว่าต้องได้สิ่งนี้จึงจะทำสิ่งนั้นสิ่งโน้นให้องค์ เทพเป็นการตอบแทน

วันหนึ่งคนน้องผู้ยากได้สะสมรวบรวมทรัพย์ที่หามาได้อย่างยากลำบาก ไปซื้อวัตถุดิบจากร้านเพื่อที่จะทำขนมโมทะกะถวายองค์พระพิฆเณศ แต่ถึงแม้จะสะสมทรัพย์ไว้ได้จำนวนหนึ่งแล้ว ก็ยังเรียกได้ว่า เล็กน้อยเหลือเกิน ที่จะทำขนมโมทะกะ ตามสูตรเครื่องขนมที่สมบูรณ์ได้ คนน้องได้ใช้เงินทั้งหมดเฉลี่ยซื้อ แป้ง น้ำตา และวัตถุดิบทั้งหลายให้ครบจำนวน แต่สิ่งของทั้งหลายที่เงินจำนวนน้อยนิดแลกมาได้นั้น ล้วนเป็นวัตถุดิบชั้นเลวทั้งสิ้น

เมื่อกลับมาถึงบ้านแล้ว นางคนน้องผู้ยากก็ได้ทำขนมขึ้นมาอย่างตั้งอกตั้งใจ แม้เครื่องทั้งหมดนั้นจะมีอยู่อย่างละนิดละหน่อยก็ตาม นางก็ได้ทำขนมขึ้นเสร็จและจุดประทีป และเริ่มทำพิธีบูชาและถวายขนมนั้นแด่องค์พระพิฆเณศมหาเทพ

ครั้นในเวลาเช้า ปรากฏเรื่องอันน่าอัศจรรย์ เมื่อนางตื่นนอนและจะเข้าไปกราบบูชา ณ องค์เทวรูปพระพิฆเณศที่นั้น นางก็ต้องตะลึงเมื่อพบว่า ขนมที่นางถวายนั้น หายไปแล้ว ไม่มีร่องรอยใดๆ ของก้อนขนมโมทะกะ ที่นางถวายเลย แต่พื้นที่รายรอบทั้งหมดนั้น กลับปรากฏขนมโมทะกะ จำนวนมาก มีรูปทรงลักษณะเดียวกันกับที่นางทำถวาย แตกต่างกันตรงที่ว่าบรรดาขนมที่กระจายอยู่เต็มพื้น เต็มบ้าน จนแทบจะหาที่เดินไม่ได้นั้น "เป็นทองคำแท้ ทุกก้อน" สิ่งนี้นำความปลาบปลื้มแก่นางมาก นางได้ รับรู้แล้วว่า องค์พระพิฆเณศมีอยู่จริง และ ให้พรอันประเสริฐแก่นางผู้มีศรัทธา ไม่สั่นคลอนแก่นางแล้ว

ในเวลาต่อมา คนพี่ผู้ได้สามีมีทรัพย์มาก ก็มาเรียกหา เมื่อพบว่าคนน้องไม่ได้ออกไปทำการทำงาน ค้าขายแรงงานเหมือนแต่ก่อน คนน้องผู้ใจซื่อก็บอกกล่าวกับผู้พี่ตรงๆว่า เกิดพรอันประเสริฐอะไรกับตัวเอง ผู้พี่ได้ยินดังนั้น ก็รีบกลับไปบ้านและเตรียมข้าวของวัตถุดิบที่จะทำขนมโมทะกะขึ้นมาถวายเหมือน กัน โดยนางได้ใช้ส่วนผสม เหมือนกับคนน้องทุกประการ แต่การใช้ส่วนผสมในลักษณะนี้ไม่ใช่เพราะตัวเองจน ไม่มีเงินทองที่จะซื้อหาวัตถุดิบอย่างดีเหมือนคนน้อง แต่เป็นเพราะความตระหนี่ถี่เหนียว และ ความคิดที่ว่า หากองค์คเณศมหาเทพ ไม่ได้รับของถวายของเธอจริง เธอคงไม่ต้องเสียทรัพย์สิ้นเปลืองมาก จากการทำขนมนี้ นางจึงใช้แป้ง น้ำตาล และวัตถุอื่นๆ อย่างเลวๆ แบบที่คนน้องทำ ทำเสร็จก็ถวายบูชาไปพอเป็นพิธี

ในเช้าวันรุ่งขึ้น อัศจรรย์ก็ปรากฏแก่นางอีก เมื่อโมทะกะที่นางถวายนั้น หายไปเช่นเดียวกับน้องสาวตน และมีโมทะกะใหม่มาแทนที่เช่นเดียวกับน้องสาวตนอีกเช่นกัน โมทะกะใหม่ทุกก้อนเป็นสีทองอร่าม ยังความปลาบปลื้มให้กับนางมาก นางรีบตรงเข้าไปกอบโมทะกะสีทองเหล่านั้นไว้ในอ้อมกอด แต่แล้วนางก็ต้องโยนโมทะกะนั้นทุกก้อนกลับลงไปสู่พื้น เพราะโมทะกะสีทองทุกก่อนนั้น เป็นอุจจาระ ไปเสียทั้งหมด มีเพียงสีที่เป็นทองคำ แต่กลิ่นที่ขจรขจายออกมานั้น บ่งชัดว่านี้คืออุจจาระแน่นอน

และตั้งแต่วันนั้นมา ความเสื่อมจากทรัพย์ก็บังเกิดมีกับบ้านของคนพี่ผู้ตระหนี่ ไร้ศรัทธา ความเจริญนั้นเล่าก็ได้ไปสร้างความสุข ความอยู่สบายแก่คนน้องผู้้ยาก มีศรัทธามากผู้นั้น


ถ้าหากคุณพยายามคิดให้ต่างจากที่คุณเห็น...คุณก็จะสามารถสร้างธุรกิจสำหรับตัวเองขึ้นมาได้ไม่ยากเลยเหมือนกับเจ้าของธุรกิจขนมโมทะกะ ซึ่งเห็นโอกาสที่จะสร้างธุรกิจจากความศรัทธาและความเชื่อต่อองค์พระพิฆเณศ ซึ่งจริงๆ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเชื่อความศรัทธานี่เราก็พบกันได้เยอะมาก แต่จะทำอย่างไรเราจะประยุกต์สิ่งเหล่านั้นให้เหมาะกับความถนัดของตัวเองได้ คุณลองไปนั่งคิดดูว่าคุณถนัดที่จะทำอะไร แล้วสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุณศรัทธาด้วยใจจริงๆ ตอนนี้คืออะไร ลองจับเอามารวมกัน คุณก็จะสามารถสร้างธุรกิจที่เหมาะกับตัวเองได้เช่นกัน โชคดีค่ะ

แต่หากใครที่้ต้องการจะร่วมธุรกิจกับร้านปารณีย์ โฮลี่สวีท
ทางร้านก็เปิดให้เข้าร่วมในระบบแฟรนไชส์ด้วยค่ะ
สนใจก็ลองโทรไปสอบถามที่ (089) 769-4220, (087) 683-3358, (086) 784-1824
หรือไปตามลิงค์นี้ได้เลย http://www.paraneeholysweet.com/
 

Reader

Followers