วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการส่งออก ตอนที่ 2

เมื่อจดทะเบียนธุรกิจแล้ว ก็ต้องติดต่อกรมสรรพากรเพื่อขอมีเลข และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หากมีรายรับจากการขายสินค้า หรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีผู้ประกอบการบางประเภท ที่ไม่ต้องจดทะเบียน หรือได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่ามูลค่าเพิ่ม เช่น การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่ก็สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เป็นต้น

การดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถติดต่อขอรายละเอียดและจดทะเบียนได้ที่

กรุงเทพฯ - สำนักงานสรรพากรเขต สำนักงานสรรพากรเขต (สาขา) หรือ สำนักงานสรรพากรที่สถานประกอบการตั้งอยู่ สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

ต่างจังหวัด - สำนักงานสรรพากรอำเภอ สำนักงานสรรพากรอำเภอ (สาขา)
หรือ สำนักงานสรรพากรกิ่งอำเภอที่สถานประกอบการตั้งอยู่

อันดับแรกของการประกอบธุรกิจส่งออก ผู้ประกอบการต้องเข้าใจถึงลักษณะการส่งออกของประเทศไทยก่อน ซึ่งประเทศเราเป็นประเทศกำลังพัฒนาและมีเสรีทางการค้า ฉะนั้น ในสินค้าบางตัวก็เป็นสินค้าที่มีความสำคัญและอาจส่งผลด้านเศรษฐกิจแก่ประชาชน ดังนั้น ผู้ที่จะประกอบธุรกิจส่งออก จึงจำเป็นต้องศึกษากฎเกณฑ์ และระเบียบอันเกี่ยวข้องกับการส่งออก โดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับศุลกากร กฎหมายพิกัดอัตราอากรขาเข้าขาออกของสินค้าที่ได้รับการยกเว้นอากร กฎหมายควบคุมสินค้าขาออก ทั้งนี้ เพื่อให้มีความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงกัน

ดังนั้น รัฐบาลจึงได้กำหนดการส่งออกสินค้าตามกลุ่มของสินค้าเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. สินค้ามาตรฐาน
2. สินค้าควบคุม หรือสินค้าที่มีมาตรการจัดระเบียบการส่งออก
3. สินค้าเสรี (ทั่วไป)

1. สินค้ามาตรการ ที่กำหนดมี 12 ชนิด ได้แก่
ปอฟอก ข้าวโพด เมล็ดละหุ่ง ปุยนุ่น ไม้สักแปรรูป ข้าวฟ่าง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ถั่วเขียว ปลาป่น ถั่วเขียวผิวดำ แป้งมันสำปะหลัง ข้าวหอมมะลิไทย

การส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้ ผู้ส่งออกจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ทำการค้าขาออก ซึ่งสินค้ามาตรฐานและต้องได้รับใบรับรองมาตรฐานสินค้าจาก
  • สำนักงานมาตรฐานสินค้า
  • สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
เพื่อนำไปแสดงต่อกรมศุลกากร จึงจะได้รับการตรวจปล่อยสินค้าออกไปได้ ในเรื่องนี้สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
  • กองตรวจสอบและมาตรฐานสินค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 02-5474746
2. สินค้าควบคุม เป็นสินค้าที่มีมาตรการจัดระเบียบการส่งออก เป็นสินค้า ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ความสงบและความเรียบร้อยภายในประเทศ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ สินค้าประเภทนี้ ได้แก่

สินค้าเกษครกรรม

  • ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง ข้าวสาร ข้าวเหนียว
  • ข้าวภายใต้โควต้าภาษีของสหภาพยุโรป
  • เมล็ดปอ
  • ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
  • สินค้ากาแฟ
  • ผลิตภัณฑ์กาแฟ
  • กากถั่ว
  • ไม้และไม้แปรรูป
  • ไม้ยางพารา
  • หวาย
  • ถ่านไม้
  • ช้าง ม้า ลา ล่อ
  • โค กระบือ
  • กระแต

สัตว์ป่า (177 ชนิด)
สัตว์ป่า (นก) 20 ชนิด
สัตว์ป่า (29 ชนิด)
สัตว์ป่า (22 ชนิด)
สัตว์ป่า (29 ชนิด)
ซากสัตว์ป่า (38 ชนิด)
ซากสัตว์ป่า (29 ชนิด)
ซากสัตว์ป่า (29 ชนิด)
ซากสัตว์ป่า (195 ชนิด)
ซากเต่า
ปะการัง
เต่าจักร
กุ้งกุลาดำมีชีวิต
ปลาทะเลสวยงามที่มีชีวิต
สัตว์น้ำใกล้สูญพันธ์
หอยมุกและผลิตภัณฑ์

สินค้าอุตสาหกรรม

  • น้ำตาล
  • ถ่านหิน
  • ปุ๋ย
  • ทองคำ
  • เทวรูป
  • พระพุทธรูป
  • น้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ของน้ำมันเชื้อเพลิง
  • แร่ที่มีทรายเป็นส่วนประกอบ
และ สินค้ารี-เอ็กซ์ปอร์ต

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Reader

Followers